ดัชนี RSI เดือนเมษายน 2562
04 เมษายน 2562
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค1 (Thai Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจำเดือนเมษายน 2561 “ดัชนีRSI เดือนเมษายน 2561
ชี้แนวโน้มอนาคตเศรษฐกิจดีขึ้นทุกภูมิภาค น าโดยภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ส านักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษก กระทรวงการคลังเปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำเดือนเมษายน 2561ว่า“การประมวลผล ข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดล่าสุดจากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ (คาดการณ์6 เดือนข้างหน้า) อยู่ในระดับที่ดี ขึ้นกว่าเดือนก่อนเกือบทุกภูมิภาค น าโดยภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก ภาคอุตสาหกรรมและการลงทุน เป็นสำคัญ” ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลาง ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ 92.1 ส่วนหนึ่งเป็นผลมา จากแนวโน้มที่ดีขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้าของภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากยอดค่าสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น ตามการขยายตัว ของการส่งออก อีกทั้งได้รับแรงสนับสนุนจากโครงการกองทุนพัฒนา SMEs ตามแนวประชารัฐ ประกอบกับภาคบริการ โดยเฉพาะ สาขาการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มสดใส เนื่องจากหลายจังหวัดจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมตลอดปีอีกทั้ง การท่องเที่ยวตามรอยประวัติศาสตร์กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทย ส่งผลให้ดัชนีแนวโน้มภาค บริการของภูมิภาคยังปรับตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตภาคตะวันออก อยู่ที่ระดับ 89.6 โดยได้รับปัจจัย สนับสนุนหลักจากภาคอุตสาหกรรมและภาคการลงทุนภายในภูมิภาค เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายส่งเสริมการลงทุนตาม โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(EEC)อีกทั้งมีบริษัทยักษ์ใหญ่ อย่างอาลีบาบาของนายแจ็ก หม่า สนใจที่จะเข้ามา ลงทุนสร้างศูนย์สมาร์ท ดิจิทัล ฮับในเขตพื้นที่ EEC โดยเมื่อวันที่ 19เมษายน 2561 ได้มีการประกาศแผนการลงทุนไปเป็นที่ เรียบร้อยแล้วส่วนดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ระดับ 84.4เนื่องจากแนวโน้ม ที่ดีขึ้นในภาคอุตสาหกรรม ตามทิศทางที่ดีขึ้นต่อเนื่องของการส่งออก ส่งผลให้ยอดคำสั่งเพิ่มขึ้น ประกอบกับยังคงได้รับปัจจัย 1 หมายเหตุ ก. ขอขอบคุณอธิบดีกรมบัญชีกลางและสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัด สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ให้ความร่วมมือในการ จัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (RSI) ข. การอ่านค่าดัชนี RSI ดัชนี > 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นคาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าต่อภาวการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในระดับ “ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน” ดัชนี < 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นคาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าต่อภาวการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในระดับ “ชะลอกว่าปัจจุบัน” ดัชนี = 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นตาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าต่อภาวการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในระดับ “ทรงตัว” - 2 - สนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ นอกจากนี้ ดัชนีแนวโน้มของภาคการลงทุนปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน ตามระดับความเชื่อของนัก ลงทุนที่มีต่อเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือปรับตัวเพิ่มขึ้น อีกทั้ง มีการอนุมัติการลงทุนเพิ่มเติมในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัด มุกดาหาร ซึ่งน่าจะเป็นแรงสนับสนุนสำคัญต่อไป ในขณะที่ภาคการผลิตของภาคเหนือ ที่มีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม พบว่า มีแนวโน้มการขอตั้งโรงงานเพิ่มขึ้นในจังหวัดเพชรบูรณ์และโรงงานใหญ่ในจังหวัดลำพูน มีการประกาศแผนปรับเพิ่มการผลิต อีกทั้ง นโยบายภาครัฐด้านการปล่อยสินเชื่อ SMEs ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญ รวมถึงดัชนีแนวโน้มภาคเกษตรปรับตัวเพิ่ม ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 89.9ตามสภาพอากาศที่เอื้อต่อการเพาะปลูก และคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดัชนีความ เชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจเหนือ ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 81.3ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้ ปรับตัวสูงขึ้นมา อยู่ที่ 80.0 จากดัชนีแนวโน้มในภาคบริการ ส่งสัญญาณที่ดีต่อเนื่อง อยู่ที่ 89.5 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการท่องเที่ยว เป็นสำคัญ เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวเกิดใหม่ในหลายจังหวัด เช่น สตูล พัทลุง เป็นต้น อีกทั้ง หลายจังหวัดมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับแนวโน้มภาคอุตสาหกรรมยังอยู่ในเกณฑ์ดี ตามการขยายตัวของการส่งออก สำหรับดัชนีความเชื่อมั่น อนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตก อยู่ที่ 78.2 ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากได้รับแรงสนับสนุนจากแนวโน้มที่ดี ของภาคบริการ โดยเฉพาะสาขาการท่องเที่ยว ที่จะได้รับอานิสงส์จากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในจังหวัดราชบุรีและ เพชรบุรี อีกทั้งค้าส่งค้าปลีกที่มีแนวโน้มสดใส จากโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ประกอบกับแนวโน้มที่ดีในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากโรงงานในจังหวัดสมุทรสงครามได้รับยอดคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงการลงทุนเพิ่มขึ้นในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจ พิเศษในจังหวัดกาญจนบุรี นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจกทม.และปริมณฑลอยู่ที่77.6 ปรับตัวสูงขึ้นจาก เดือนก่อน ตามดัชนีแนวโน้มในอีก 6 เดือนข้างหน้าของภาคบริการยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีที่ 84.7อีกทั้ง ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาค การลงทุน
ที่มา: http://www.fpo.go.th
สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ชี้แนวโน้มอนาคตเศรษฐกิจดีขึ้นทุกภูมิภาค น าโดยภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ส านักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษก กระทรวงการคลังเปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำเดือนเมษายน 2561ว่า“การประมวลผล ข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดล่าสุดจากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ (คาดการณ์6 เดือนข้างหน้า) อยู่ในระดับที่ดี ขึ้นกว่าเดือนก่อนเกือบทุกภูมิภาค น าโดยภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก ภาคอุตสาหกรรมและการลงทุน เป็นสำคัญ” ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลาง ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ 92.1 ส่วนหนึ่งเป็นผลมา จากแนวโน้มที่ดีขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้าของภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากยอดค่าสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น ตามการขยายตัว ของการส่งออก อีกทั้งได้รับแรงสนับสนุนจากโครงการกองทุนพัฒนา SMEs ตามแนวประชารัฐ ประกอบกับภาคบริการ โดยเฉพาะ สาขาการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มสดใส เนื่องจากหลายจังหวัดจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมตลอดปีอีกทั้ง การท่องเที่ยวตามรอยประวัติศาสตร์กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทย ส่งผลให้ดัชนีแนวโน้มภาค บริการของภูมิภาคยังปรับตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตภาคตะวันออก อยู่ที่ระดับ 89.6 โดยได้รับปัจจัย สนับสนุนหลักจากภาคอุตสาหกรรมและภาคการลงทุนภายในภูมิภาค เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายส่งเสริมการลงทุนตาม โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(EEC)อีกทั้งมีบริษัทยักษ์ใหญ่ อย่างอาลีบาบาของนายแจ็ก หม่า สนใจที่จะเข้ามา ลงทุนสร้างศูนย์สมาร์ท ดิจิทัล ฮับในเขตพื้นที่ EEC โดยเมื่อวันที่ 19เมษายน 2561 ได้มีการประกาศแผนการลงทุนไปเป็นที่ เรียบร้อยแล้วส่วนดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ระดับ 84.4เนื่องจากแนวโน้ม ที่ดีขึ้นในภาคอุตสาหกรรม ตามทิศทางที่ดีขึ้นต่อเนื่องของการส่งออก ส่งผลให้ยอดคำสั่งเพิ่มขึ้น ประกอบกับยังคงได้รับปัจจัย 1 หมายเหตุ ก. ขอขอบคุณอธิบดีกรมบัญชีกลางและสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัด สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ให้ความร่วมมือในการ จัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (RSI) ข. การอ่านค่าดัชนี RSI ดัชนี > 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นคาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าต่อภาวการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในระดับ “ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน” ดัชนี < 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นคาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าต่อภาวการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในระดับ “ชะลอกว่าปัจจุบัน” ดัชนี = 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นตาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าต่อภาวการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในระดับ “ทรงตัว” - 2 - สนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ นอกจากนี้ ดัชนีแนวโน้มของภาคการลงทุนปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน ตามระดับความเชื่อของนัก ลงทุนที่มีต่อเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือปรับตัวเพิ่มขึ้น อีกทั้ง มีการอนุมัติการลงทุนเพิ่มเติมในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัด มุกดาหาร ซึ่งน่าจะเป็นแรงสนับสนุนสำคัญต่อไป ในขณะที่ภาคการผลิตของภาคเหนือ ที่มีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม พบว่า มีแนวโน้มการขอตั้งโรงงานเพิ่มขึ้นในจังหวัดเพชรบูรณ์และโรงงานใหญ่ในจังหวัดลำพูน มีการประกาศแผนปรับเพิ่มการผลิต อีกทั้ง นโยบายภาครัฐด้านการปล่อยสินเชื่อ SMEs ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญ รวมถึงดัชนีแนวโน้มภาคเกษตรปรับตัวเพิ่ม ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 89.9ตามสภาพอากาศที่เอื้อต่อการเพาะปลูก และคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดัชนีความ เชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจเหนือ ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 81.3ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้ ปรับตัวสูงขึ้นมา อยู่ที่ 80.0 จากดัชนีแนวโน้มในภาคบริการ ส่งสัญญาณที่ดีต่อเนื่อง อยู่ที่ 89.5 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการท่องเที่ยว เป็นสำคัญ เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวเกิดใหม่ในหลายจังหวัด เช่น สตูล พัทลุง เป็นต้น อีกทั้ง หลายจังหวัดมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับแนวโน้มภาคอุตสาหกรรมยังอยู่ในเกณฑ์ดี ตามการขยายตัวของการส่งออก สำหรับดัชนีความเชื่อมั่น อนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตก อยู่ที่ 78.2 ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากได้รับแรงสนับสนุนจากแนวโน้มที่ดี ของภาคบริการ โดยเฉพาะสาขาการท่องเที่ยว ที่จะได้รับอานิสงส์จากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในจังหวัดราชบุรีและ เพชรบุรี อีกทั้งค้าส่งค้าปลีกที่มีแนวโน้มสดใส จากโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ประกอบกับแนวโน้มที่ดีในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากโรงงานในจังหวัดสมุทรสงครามได้รับยอดคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงการลงทุนเพิ่มขึ้นในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจ พิเศษในจังหวัดกาญจนบุรี นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจกทม.และปริมณฑลอยู่ที่77.6 ปรับตัวสูงขึ้นจาก เดือนก่อน ตามดัชนีแนวโน้มในอีก 6 เดือนข้างหน้าของภาคบริการยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีที่ 84.7อีกทั้ง ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาค การลงทุน
ที่มา: http://www.fpo.go.th
สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง