การลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 253 ญี่ปุ่นครองแชมป์ลงทุนสูงสุด
28 พฤษภาคม 2562
การลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 253
ญี่ปุ่นครองแชมป์ลงทุนสูงสุด
บีโอไอเผยการลงทุนไตรมาสแรกต่างประเทศลงทุนเพิ่มกว่าร้อยละ 253 ทุนญี่ปุ่นคงอันดับหนึ่งขอรับการส่งเสริม ขณะที่โครงการขอรับส่งเสริมการลงทุนมี 387 โครงการเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12
นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงสถิติขอรับส่งเสริมการลงทุนในช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 (มกราคม – มีนาคม 2562) ว่า มีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 387 โครงการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12 มูลค่าเงินลงทุนรวม 128,903 ล้านบาท โดยอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย จำนวน 199 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 51 ของจำนวนโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมทั้งหมด โดยมีมูลค่า 58,803 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 46 ของมูลค่าการยื่นขอรับการส่งเสริมทั้งหมด
ประเภทกิจกรรมที่ยื่นขอรับการส่งเสริมมากที่สุด 4 อันดับแรก ได้แก่ กิจการบริการและสาธารณูปโภค จำนวน 129 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 33 ของจำนวนโครงการทั้งหมด เงินลงทุนรวม 46,888 ล้านบาท กิจการเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 81 โครงการ เงินลงทุนรวม 22,259 ล้านบาท กิจการผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง จานวน 65 โครงการ เงินลงทุนรวม 15,258 ล้านบาท และกิจการเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร จำนวน 52 โครงการ เงินลงทุนรวม 7,365 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนรายใหม่ยังคงให้ความสนใจยื่นขอรับการส่งเสริม โดยมีโครงการลงทุนใหม่ จำนวน 208 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 54 ของจำนวนคำขอรับการส่งเสริมทั้งหมด ด้วยมูลค่าเงินลงทุนรวม 39,170 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 30 ของเงินลงทุนทั้งหมด
ต่างชาติลงทุนเพิ่มร้อยละ 253
นางสาวดวงใจ กล่าวอีกว่า การยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ มีจำนวน 245 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 84,104 ล้านบาท เปรียบเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนจำนวนโครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 ส่วนมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 253 สำหรับประเทศที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
อันดับ 1. ญี่ปุ่น จำนวน 55 โครงการ เงินลงทุน 26,845 ล้านบาท
อันดับ 2. จีน จำนวน 38 โครงการ เงินลงทุน 9,072 ล้านบาท
อันดับ 3. สิงคโปร์ จำนวน 29 โครงการ มูลค่า 5,447 ล้านบาท
โดยหากพิจารณาในด้านโครงการ ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คิดเป็นร้อยละ 29 ของโครงการจากต่างชาติทั้งหมด แต่หากพิจารณาในด้านมูลค่าการลงทุน ส่วนใหญ่อยู่ในหมวดแร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นมูลฐาน คิดเป็นร้อยละ 30 ของมูลค่าเงินลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด
ข้อมูลจาก: ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
ญี่ปุ่นครองแชมป์ลงทุนสูงสุด
บีโอไอเผยการลงทุนไตรมาสแรกต่างประเทศลงทุนเพิ่มกว่าร้อยละ 253 ทุนญี่ปุ่นคงอันดับหนึ่งขอรับการส่งเสริม ขณะที่โครงการขอรับส่งเสริมการลงทุนมี 387 โครงการเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12
นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงสถิติขอรับส่งเสริมการลงทุนในช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 (มกราคม – มีนาคม 2562) ว่า มีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 387 โครงการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12 มูลค่าเงินลงทุนรวม 128,903 ล้านบาท โดยอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย จำนวน 199 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 51 ของจำนวนโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมทั้งหมด โดยมีมูลค่า 58,803 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 46 ของมูลค่าการยื่นขอรับการส่งเสริมทั้งหมด
ประเภทกิจกรรมที่ยื่นขอรับการส่งเสริมมากที่สุด 4 อันดับแรก ได้แก่ กิจการบริการและสาธารณูปโภค จำนวน 129 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 33 ของจำนวนโครงการทั้งหมด เงินลงทุนรวม 46,888 ล้านบาท กิจการเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 81 โครงการ เงินลงทุนรวม 22,259 ล้านบาท กิจการผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง จานวน 65 โครงการ เงินลงทุนรวม 15,258 ล้านบาท และกิจการเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร จำนวน 52 โครงการ เงินลงทุนรวม 7,365 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนรายใหม่ยังคงให้ความสนใจยื่นขอรับการส่งเสริม โดยมีโครงการลงทุนใหม่ จำนวน 208 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 54 ของจำนวนคำขอรับการส่งเสริมทั้งหมด ด้วยมูลค่าเงินลงทุนรวม 39,170 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 30 ของเงินลงทุนทั้งหมด
ต่างชาติลงทุนเพิ่มร้อยละ 253
นางสาวดวงใจ กล่าวอีกว่า การยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ มีจำนวน 245 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 84,104 ล้านบาท เปรียบเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนจำนวนโครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 ส่วนมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 253 สำหรับประเทศที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
อันดับ 1. ญี่ปุ่น จำนวน 55 โครงการ เงินลงทุน 26,845 ล้านบาท
อันดับ 2. จีน จำนวน 38 โครงการ เงินลงทุน 9,072 ล้านบาท
อันดับ 3. สิงคโปร์ จำนวน 29 โครงการ มูลค่า 5,447 ล้านบาท
โดยหากพิจารณาในด้านโครงการ ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คิดเป็นร้อยละ 29 ของโครงการจากต่างชาติทั้งหมด แต่หากพิจารณาในด้านมูลค่าการลงทุน ส่วนใหญ่อยู่ในหมวดแร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นมูลฐาน คิดเป็นร้อยละ 30 ของมูลค่าเงินลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด
ข้อมูลจาก: ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)