เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ SEZ ดีอย่างไร
09 กรกฎาคม 2562
มาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน หรือ SEZ ประเทศไทยมีพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านจำนวนมากและส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีรายได้ต่อหัวค่อนข้างต่ำ ยังจำเป็นต้องมีการสร้างกิจกรรมพัฒนาทางเศรษฐกิจแต่ในขณะเดียวกันก็เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ดังนั้น นโยบาย SEZ จึงเพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนเชื่อมโยงการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวชายแดน โดยคำนึงถึงศักยภาพและความต้องการประชาชนในพื้นที่เป็นสำคัญ รวมถึงการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน
รัฐบาลจึงได้ประกาศกำหนดพื้นที่บางส่วนของ 10 จังหวัด ได้แก่ ตาก มุกดาหาร สระแก้ว ตราด สงขลา เชียงราย หนองคาย นครพนม กาญจนบุรี และนราธิวาส ให้เป็น SEZ ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.)โดยมีการบูรณาการความร่วมมือของหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานซึ่งทำงานใกล้ชิดร่วมกับภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนการลงทุนในพื้นที่ SEZ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ได้กำหนดมาตรการสิทธิประโยชน์เป็นการเฉพาะ หากเป็นกิจการใน 13 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายตามแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีกว่า 70 ประเภทกิจการจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี และลดหย่อนเพิ่มเติม 50% เป็นระยะเวลา 5 ปี สำหรับกิจการอื่นๆ ที่อยู่ในบัญชีที่บีโอไอให้ส่งเสริม จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 3 ปี แต่ต้องไม่เกิน 8 ปี หรือในกรณีได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปีแล้ว จะลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 50% เป็นระยะเวลา 5 ปี
นอกจากนี้ บีโอไอยังได้นำบางประเภทกิจการที่ได้เคยยกเลิกให้การส่งเสริมไปแล้วกลับมาให้การส่งเสริมใหม่แต่กำหนดว่าต้องอยู่ในพื้นที่ SEZ เท่านั้น เช่น กิจการผลิตสบู่ ยาสระผม เครื่องสำอาง พลาสติก วัสดุก่อสร้างนอกจากนี้ บีโอไอยังได้นำบางประเภทกิจการที่ได้เคยยกเลิกให้การส่งเสริมไปแล้วกลับมาให้การส่งเสริมใหม่แต่กำหนดว่าต้องอยู่ในพื้นที่ SEZ เท่านั้น เช่น กิจการผลิตสบู่ ยาสระผม เครื่องสำอาง พลาสติก วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น โดยจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี อีกทั้งบีโอไอได้ผ่อนปรนเงื่อนไขให้กับกิจการ SMEs เป็นพิเศษเพื่อให้ผู้ประกอบการขนาดลางและขนาดเล็กในท้องถิ่น สามารถขอรับส่งเสริมการลงทุนได้ง่ายขึ้นเพื่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ทรัพยากรในท้องถิ่นอีกด้วย
พร้อมทั้งมีมาตรการอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนต่างชาติในลักษณะเดียวกับที่ให้แก่โครงการในพื้นที่อื่น เช่นการถือครองที่ดินสำหรับที่ใช้ในกิจการที่ได้รับส่งเสริม
รัฐบาลจึงได้ประกาศกำหนดพื้นที่บางส่วนของ 10 จังหวัด ได้แก่ ตาก มุกดาหาร สระแก้ว ตราด สงขลา เชียงราย หนองคาย นครพนม กาญจนบุรี และนราธิวาส ให้เป็น SEZ ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.)โดยมีการบูรณาการความร่วมมือของหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานซึ่งทำงานใกล้ชิดร่วมกับภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนการลงทุนในพื้นที่ SEZ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ได้กำหนดมาตรการสิทธิประโยชน์เป็นการเฉพาะ หากเป็นกิจการใน 13 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายตามแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีกว่า 70 ประเภทกิจการจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี และลดหย่อนเพิ่มเติม 50% เป็นระยะเวลา 5 ปี สำหรับกิจการอื่นๆ ที่อยู่ในบัญชีที่บีโอไอให้ส่งเสริม จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 3 ปี แต่ต้องไม่เกิน 8 ปี หรือในกรณีได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปีแล้ว จะลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 50% เป็นระยะเวลา 5 ปี
นอกจากนี้ บีโอไอยังได้นำบางประเภทกิจการที่ได้เคยยกเลิกให้การส่งเสริมไปแล้วกลับมาให้การส่งเสริมใหม่แต่กำหนดว่าต้องอยู่ในพื้นที่ SEZ เท่านั้น เช่น กิจการผลิตสบู่ ยาสระผม เครื่องสำอาง พลาสติก วัสดุก่อสร้างนอกจากนี้ บีโอไอยังได้นำบางประเภทกิจการที่ได้เคยยกเลิกให้การส่งเสริมไปแล้วกลับมาให้การส่งเสริมใหม่แต่กำหนดว่าต้องอยู่ในพื้นที่ SEZ เท่านั้น เช่น กิจการผลิตสบู่ ยาสระผม เครื่องสำอาง พลาสติก วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น โดยจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี อีกทั้งบีโอไอได้ผ่อนปรนเงื่อนไขให้กับกิจการ SMEs เป็นพิเศษเพื่อให้ผู้ประกอบการขนาดลางและขนาดเล็กในท้องถิ่น สามารถขอรับส่งเสริมการลงทุนได้ง่ายขึ้นเพื่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ทรัพยากรในท้องถิ่นอีกด้วย
พร้อมทั้งมีมาตรการอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนต่างชาติในลักษณะเดียวกับที่ให้แก่โครงการในพื้นที่อื่น เช่นการถือครองที่ดินสำหรับที่ใช้ในกิจการที่ได้รับส่งเสริม