บีโอไอกับมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ
16 สิงหาคม 2565
บีโอไอกับมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ
1.การประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทนหรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในโรงงาน เป็นต้น
2.การวิจัยและพัฒนาหรือการออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ เช่น การวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ทั้งในด้านการประหยัดการใช้วัตถุดิบ และพนักงานด้วยการออกแบบทางวิศวกรรม เป็นต้น
3.การยกระดับอุตสาหกรรมไปสู่มาตรฐานเพื่อความยั่งยืน (Sustainability) ในระดับสากล เช่น การจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร (ISO 22000) ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน (ISO 14061) เป็นต้น
4.การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่น การนำระบบอัตโนมัติ เป็นต้น
5.การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ เช่น การนำซอฟต์แวร์เข้ามาบริหารจัดการทรัพยากรของกิจการ
6.*การยกระดับสู่อุตสาหกรรม 4.0 เช่น การใช้ระบบอัตโนมัติและการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและการปฎิบัติการที่ชาญฉลาด การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้บริหารจัดการในกระบวนการผลิตและการบริหารองค์กร เป็นต้น
เงื่อนไข
ดำเนินกิจการอยู่ในกว่า 400 ประเภท ที่บีโอไอให้การส่งเสริมฯ
เป็นกิจการที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเคยได้รับการส่งเสริมฯหรือไม่ก็ตาม
โครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯอยู่เดิม ยื่นขอรับการส่งเสริมฯได้ เมื่อสิทธิประโยชน์การยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นสุดลงแล้ว
ขนาดการลงทุนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
ขนาดการลงทุนไม่น้อยกว่า 500,000 บาท สำหรับ SMEs (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
สามารถยื่นขอรับการส่งเสริมฯซ้ำมาตรการย่อย 5 ด้านได้
สิทธิประโยชน์
ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี ร้อยละ 50 ของเงินลงทุนในการปรับปรุง
ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
*ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี วงเงิน 100% ของเงินลงทุน สำหรับการลงทุนการยกระดับสู่อุตสาหกรรม 4.0
1.การประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทนหรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในโรงงาน เป็นต้น
2.การวิจัยและพัฒนาหรือการออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ เช่น การวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ทั้งในด้านการประหยัดการใช้วัตถุดิบ และพนักงานด้วยการออกแบบทางวิศวกรรม เป็นต้น
3.การยกระดับอุตสาหกรรมไปสู่มาตรฐานเพื่อความยั่งยืน (Sustainability) ในระดับสากล เช่น การจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร (ISO 22000) ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน (ISO 14061) เป็นต้น
4.การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่น การนำระบบอัตโนมัติ เป็นต้น
5.การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ เช่น การนำซอฟต์แวร์เข้ามาบริหารจัดการทรัพยากรของกิจการ
6.*การยกระดับสู่อุตสาหกรรม 4.0 เช่น การใช้ระบบอัตโนมัติและการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและการปฎิบัติการที่ชาญฉลาด การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้บริหารจัดการในกระบวนการผลิตและการบริหารองค์กร เป็นต้น
เงื่อนไข
ดำเนินกิจการอยู่ในกว่า 400 ประเภท ที่บีโอไอให้การส่งเสริมฯ
เป็นกิจการที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเคยได้รับการส่งเสริมฯหรือไม่ก็ตาม
โครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯอยู่เดิม ยื่นขอรับการส่งเสริมฯได้ เมื่อสิทธิประโยชน์การยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นสุดลงแล้ว
ขนาดการลงทุนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
ขนาดการลงทุนไม่น้อยกว่า 500,000 บาท สำหรับ SMEs (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
สามารถยื่นขอรับการส่งเสริมฯซ้ำมาตรการย่อย 5 ด้านได้
สิทธิประโยชน์
ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี ร้อยละ 50 ของเงินลงทุนในการปรับปรุง
ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
*ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี วงเงิน 100% ของเงินลงทุน สำหรับการลงทุนการยกระดับสู่อุตสาหกรรม 4.0