เมื่อ “วิกฤตอาหาร” รุนแรงขึ้น โลกจะพร้อมรับมือแค่ไหน ⁉️

16 มิถุนายน 2566
เมื่อ “วิกฤตอาหาร” รุนแรงขึ้น โลกจะพร้อมรับมือแค่ไหน ⁉️
จากรายงาน Global Report on Food Crises 2022 ระบุว่ามีประชากรประมาณ 193 ล้านคน จาก 53 ประเทศ ที่กำลังเผชิญกับการขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง
ในอีกด้านหนึ่ง Global Network against Food Crises (ที่รวมถึง WFP ของธนาคารโลกด้วย) ซึ่งเป็นพันธมิตรระหว่างประเทศที่ทำงานเพื่อแก้ไขต้นตอของความหิวโหยอย่างรุนแรง ได้กล่าวถึงผู้คนจำนวนมากที่ต้องตกอยู่ในภาวะวิกฤตและได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ เศรษฐกิจที่ผันผวน และสภาพอากาศที่แปรปรวน
แล้วทางออก ‘วิกฤตขาดแคลนอาหาร’ อยู่ที่ไหน❓
การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรงเป็นภารกิจที่ทั้งโลกต้องทำควบคู่กันไปทั้งการลดโลกร้อนและการเพิ่มปริมาณอาหาร โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยเพื่อสร้างแหล่งอาหารใหม่ นั่นก็คือ 'อาหารแห่งอนาคต' หรือ 'Future Food'
"Future Food" เป็นเมกะเทรนด์ที่กำลังเติบโตในอุตสาหกรรมอาหารทั่วโลก และไทยก็เป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานสำคัญ และเติบโตไปตามเทรนด์นี้ เห็นได้จากมูลค่าการส่งออก “อาหารแห่งอนาคต” ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 
                                                                            <div class=