การส่งเสริมการลงทุนโดยบีโอไอ เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่การเป็น “ศูนย์กลางการลงทุนในภูมิภาค” โดยเฉพาะในยุคที่โลกกำลังมุ่งสู่อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและความยั่งยืน
27 พฤศจิกายน 2567
การส่งเสริมการลงทุนโดยบีโอไอ เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่การเป็น “ศูนย์กลางการลงทุนในภูมิภาค” โดยเฉพาะในยุคที่โลกกำลังมุ่งสู่อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและความยั่งยืน
ตัวเลขล่าสุดในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม - กันยายน) สะท้อนถึงการเติบโตที่แข็งแกร่ง เรียกว่าปี 2567 เป็นปีแห่ง "การเติบโตที่ก้าวกระโดด" โดยมีคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนกว่า 2,195 โครงการ รวมมูลค่าการลงทุนสูงถึง 722,528 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42% จากปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าสูงสุดในรอบ 10 ปี แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยในฐานะจุดหมายการลงทุนที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก
เหตุผลที่ทำให้การส่งเสริมการลงทุนกลายเป็นตัวเปลี่ยนเกมเศรษฐกิจไทย
1. เสริมขีดความสามารถไทยในเวทีโลก
ในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยมีการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เซมิคอนดักเตอร์ รวมไปถึงการลงทุนด้านดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งการเข้ามาลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้ นอกจากจะสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อประเทศไทยในฐานะแหล่งลงทุนที่มีศักยภาพแล้ว ยังเป็นส่วนช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้ประเทศไทยก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางการลงทุนแห่งภูมิภาคอีกด้วย
2. สิทธิประโยชน์ลดต้นทุน เพิ่มโอกาสใหม่ สร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดึงดูดใจ
การสนับสนุนจากบีโอไอ นอกจากจะช่วยลดต้นทุนทางธุรกิจ ยังเป็นการสร้างโอกาสและทางเลือกใหม่ ด้วยสิทธิประโยชน์ทั้งทางภาษีและมาตรการอื่น ๆ ตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจและเลือกประเทศไทยเป็นจุดหมายในการลงทุน โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เติบโตอย่างแข็งแกร่ง มีโครงการขอรับการส่งเสริมกว่า 1,449 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 546,617 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38% จากปีที่ผ่านมา
ซึ่งประเทศที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน และญี่ปุ่น
สำหรับการลงทุนจากสิงคโปร์ที่มีมูลค่าสูงที่สุดนั้น ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และดาต้าเซ็นเตอร์จากบริษัทแม่สัญชาติจีนและสหรัฐอเมริกา ซึ่งจดทะเบียนในสิงคโปร์และเข้ามาลงทุนในไทย สะท้อนความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติต่อบรรยากาศการลงทุนในไทย
3. ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์พร้อมเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่
บีโอไอ มุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนการเติบโตและศักยภาพการแข่งขันในอนาคต การลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้ไม่เพียงสร้างงานและมูลค่าเพิ่มสูงให้กับเศรษฐกิจไทย ใน 5 อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ที่สำคัญ
• อุตสาหกรรมสีเขียว : มุ่งสู่การพัฒนาเศรฐกิจชีวภาพ และตอบโจทย์ความยั่งยืน (Bio-based and Green Technology)
• อิเล็กทรอนิกส์: ผลักดันให้เกิดการลงทุนในระดับต้นน้ำถึงปลายน้ำ เป็นศูนย์กลางการผลิตอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในอาเซียน
• ยานยนต์ และยานยนต์ไฟฟ้า: เดินหน้าสู่ศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ระดับโลก สร้างอนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาด
• ดิจิทัล และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ : ดึงดูดการลงทุนระดับ Hyperscale และ Cloud Serviceรองรับการขยายตัวของเทคโนโลยี AI และ Big Data และส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยให้เติบโต
• ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ : ส่งเสริมการลงทุนและอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งสำนักงานภูมิภาคในไทยของธุรกิจระดับนานาชาติ (International Business Center)
4. เน้นคุณภาพ สร้างประโยชน์ที่ยั่งยืน
บีโอไอนอกจากจะส่งเสริมการลงทุนรวมถึงอำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนทั้งธุรกิจไทยและต่างชาติ ที่ไม่ใช่เพียงเพิ่มเม็ดเงินในเศรษฐกิจ แต่ยังให้ความสำคัญกับคุณภาพของโครงการ และประโยชน์ที่คนไทยจะได้รับ โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 พบว่า
• ช่วยสร้างงานให้บุคลากรไทย กว่า 170,000 ตำแหน่ง
• เชื่อมโยง Supply Chain ไทย สนับสนุนให้มีการใช้วัตถุดิบในประเทศ กว่า 800,000 ล้านบาท
• สร้างรายได้จากการส่งออก กว่า 2 ล้านล้านบาท
ตัวเลขล่าสุดในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม - กันยายน) สะท้อนถึงการเติบโตที่แข็งแกร่ง เรียกว่าปี 2567 เป็นปีแห่ง "การเติบโตที่ก้าวกระโดด" โดยมีคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนกว่า 2,195 โครงการ รวมมูลค่าการลงทุนสูงถึง 722,528 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42% จากปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าสูงสุดในรอบ 10 ปี แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยในฐานะจุดหมายการลงทุนที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก
เหตุผลที่ทำให้การส่งเสริมการลงทุนกลายเป็นตัวเปลี่ยนเกมเศรษฐกิจไทย
1. เสริมขีดความสามารถไทยในเวทีโลก
ในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยมีการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เซมิคอนดักเตอร์ รวมไปถึงการลงทุนด้านดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งการเข้ามาลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้ นอกจากจะสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อประเทศไทยในฐานะแหล่งลงทุนที่มีศักยภาพแล้ว ยังเป็นส่วนช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้ประเทศไทยก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางการลงทุนแห่งภูมิภาคอีกด้วย
2. สิทธิประโยชน์ลดต้นทุน เพิ่มโอกาสใหม่ สร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดึงดูดใจ
การสนับสนุนจากบีโอไอ นอกจากจะช่วยลดต้นทุนทางธุรกิจ ยังเป็นการสร้างโอกาสและทางเลือกใหม่ ด้วยสิทธิประโยชน์ทั้งทางภาษีและมาตรการอื่น ๆ ตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจและเลือกประเทศไทยเป็นจุดหมายในการลงทุน โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เติบโตอย่างแข็งแกร่ง มีโครงการขอรับการส่งเสริมกว่า 1,449 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 546,617 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38% จากปีที่ผ่านมา
ซึ่งประเทศที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน และญี่ปุ่น
สำหรับการลงทุนจากสิงคโปร์ที่มีมูลค่าสูงที่สุดนั้น ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และดาต้าเซ็นเตอร์จากบริษัทแม่สัญชาติจีนและสหรัฐอเมริกา ซึ่งจดทะเบียนในสิงคโปร์และเข้ามาลงทุนในไทย สะท้อนความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติต่อบรรยากาศการลงทุนในไทย
3. ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์พร้อมเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่
บีโอไอ มุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนการเติบโตและศักยภาพการแข่งขันในอนาคต การลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้ไม่เพียงสร้างงานและมูลค่าเพิ่มสูงให้กับเศรษฐกิจไทย ใน 5 อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ที่สำคัญ
• อุตสาหกรรมสีเขียว : มุ่งสู่การพัฒนาเศรฐกิจชีวภาพ และตอบโจทย์ความยั่งยืน (Bio-based and Green Technology)
• อิเล็กทรอนิกส์: ผลักดันให้เกิดการลงทุนในระดับต้นน้ำถึงปลายน้ำ เป็นศูนย์กลางการผลิตอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในอาเซียน
• ยานยนต์ และยานยนต์ไฟฟ้า: เดินหน้าสู่ศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ระดับโลก สร้างอนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาด
• ดิจิทัล และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ : ดึงดูดการลงทุนระดับ Hyperscale และ Cloud Serviceรองรับการขยายตัวของเทคโนโลยี AI และ Big Data และส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยให้เติบโต
• ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ : ส่งเสริมการลงทุนและอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งสำนักงานภูมิภาคในไทยของธุรกิจระดับนานาชาติ (International Business Center)
4. เน้นคุณภาพ สร้างประโยชน์ที่ยั่งยืน
บีโอไอนอกจากจะส่งเสริมการลงทุนรวมถึงอำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนทั้งธุรกิจไทยและต่างชาติ ที่ไม่ใช่เพียงเพิ่มเม็ดเงินในเศรษฐกิจ แต่ยังให้ความสำคัญกับคุณภาพของโครงการ และประโยชน์ที่คนไทยจะได้รับ โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 พบว่า
• ช่วยสร้างงานให้บุคลากรไทย กว่า 170,000 ตำแหน่ง
• เชื่อมโยง Supply Chain ไทย สนับสนุนให้มีการใช้วัตถุดิบในประเทศ กว่า 800,000 ล้านบาท
• สร้างรายได้จากการส่งออก กว่า 2 ล้านล้านบาท